ร้านซ่อมตู้ชิลล์ ตู้แช่ ตู้เค้ก ตู้ไอศรีม ตู้เย็นเสีย นอกสถานที่เขตร่มเกล้า ลาดกระบัง อ่อนนุช ประเวศ กิ่งแก้ว บางนา เทพารักษ์ สมุทรปราการ มีนบุรี นิมิตใหม่

 LDK SERVICE 
096-924-2915

เรารับซ่อมบำรุงเครื่องทำความเย็นนอกสถานที่   ประเภทตู้แช่ ตู้ชิลล์ ตู้เย็นระบบโนฟรอสและระบบกึ่งอัตโนมัติ รวมไปถึง ห้องแช่เย็นแช่แข็ง    





ตู้แช่เครื่องดื่ม ทั่วไป

ตู้เย็นไซด์บายไซด์
ตู้เย็นโนฟรอสทั่วไป








                        


  อัตราค่าบริการ
ค่าบริการ 400 บาทเท่ากันทุกแบบ 

ตู้เย็นโนฟรอส     ไม่เกิน 15  คิว
ระบบน้ำยารั่ว            1400 บาท
ระบบละลายน้ำแข็ง  1100 บาท


ตู้เย็นไซด์บายไซด์และ ตู้แช่มินิมาร์ท
ระบบน้ำยา                         2400 บาท
ระบบละลายน้ำแข็ง            2100 บาท


อาการตู้เย็น ตู้ชิลล์ ตู้แช่ เสียบ่อย 
-คอมเพรสเซอร์ ไม่ทำงานหรือทำงาน แต่ไม่มีความเย็น
-สารความเย็นของตู้เย็น ตู้เเช่ ตู้ชิลล์ไม่มีหรือรั่วซึม
-ตู้เย็น ตู้แช่ ไม่เย็นเท่าที่ควร 
-เกิดน้ำแข็งสะสมในคอร์ยเย็นของตู้เย็น
-เบรคเกอร์ ทริปหรือ มีไฟดูดเวลาสัมผัสตู้เย็น


พื้นที่ที่ให้บริการซ่อมคือ เขตลาดกระบัง อ่อนนุช ประเวศ สวนหลวง ร่มเกล้า กิ่งแก้ว เทพารักษ์ บางบ่อ มีนบุรี รามคำแหง รามอินทรา นิมิตรใหม่ ฉลองกรุง เจ้าคุณทหาร สุวินทวงศ์ พระรามเก้า 

ติดต่อสอบถาม/นัดซ่อม
โทร/Line id.  096-924-2915   LDK SERVICE
อีเมลล์. ldk.cservice@gmail.com



มอเตอร์ไฟฟ้ากระเเสสลับ มีกี่ชนิด

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC. Motor) สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
-อะซิงโครนัสมอเตอร์ (Asynchronous)
-ซิงโครนัสมอเตอร์ (Synchronous)

ซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะมอเตอร์อะซิงโครนัส หรือที่เรียกว่ามอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนา (Induction Motor) ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่เล็ก ๆไปจนถึงขนาดหลายร้อยแรงม้า มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนามีทั้งที่เป็นมอเตอร์ชนิด 1 เฟส (Single Phase) และชนิดที่เป็นมอเตอร์ 3 เฟส (Three Phase) มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนานั้นส่วนมากแล้วจะหมุนด้วยความเร็วคงที่แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วได้ เช่น มอเตอร์สลิปริงหรือมอเตอร์ชนิดขดลวดพัน ซึ่งจะเป็นมอเตอร์ชนิด 3 เฟส สาหรับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟสยังสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดคือ สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split Phase Motor) คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor) รีพัลชั่นมอเตอร์ (Repulsion Motor) ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor) และเช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ (Shaded Pole Motor) และในส่วนของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์ยังสามารถแบ่งได้อีก 3 ชนิด ได้แก่ มอเตอร์คาปาซิเตอร์สตาร์ท (Capacitor Start Motor) มอเตอร์คาปาซิเตอร์รัน (Capacitor Run Motor) และมอเตอร์คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรัน (Capacitor Start and Run Motor) ในส่วนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระสลับชนิด 3 เฟส เมื่อแบ่งตามลักษณะของโรเตอร์ (Rotor) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แบบสคิวเรลเคจโรเตอร์ (Squirrel Cage Motor) และแบบวาวด์โรเตอร์ หรือมอเตอร์ชนิดขดลวดพัน (Wound Rotor)


มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส (Single Phase Motor)

1. สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split phase motor)


มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับชนิดเฟสเดียวแบบสปลิทเฟสมอเตอร์มีขนาดแรงม้าขนาดตั้งแต่ 1/4 แรงม้า , 1/3 แรงม้า, 1/2 แรงม้าจะมีขนาดไม่เกิน1 แรงม้าบางทีนิยมเรียกสปลิทเฟสมอเตอร์นี้ว่า อินดักชั่นมอเตอร์(Induction motor) มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้งานมากในตู้เย็น เครื่องสูบน้าขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า เป็นต้น

2. คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor)
คาปาซิเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มาก ต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมาทาให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่1/20 แรงม้าถึง10 แรงม้ามอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มน้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ ตู้เย็น ฯลฯ
2.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )


ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส และพันจานวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร

2.2 คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor )


ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาพาซิสเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มีสวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิสเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลา ทาให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น และโดยที่คาปาซิสเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะทางานดังนั้นคาปาซิเตอร์ประเภทน้ามัน หรือกระดาษฉาบโลหะ

2.3 คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )

ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์ 2 ตัว คือคาปาซิสเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิสเตอร์รัน คาปาซิสเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ ส่วนคาปาซิสเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา คาปาซิสเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้นมีค่าแตกต่างกัน

3. รีพัลชั่นมอเตอร์ (Repulsion Motor)


เป็นมอเตอร์ที่มีขดลวดโรเตอร์ (Rotor) จะต่อเข้ากับคอมมิวเตเตอร์และมีแปรงถ่านเป็นตัวต่อลัดวงจร จึงทาให้ปรับความเร็วและแรงบิดได้ โดยการปรับตาแหน่งแปรงถ่าน สเตเตอร์( Stator ) จะมีขดลวดพันอยู่ในร่องเพียงชุดเดียวเหมือนกับขดรันของสปลิทเฟสมอเตอร์ เรียกว่า ขดลวดเมน (Main winding) ต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง แรงบิดเริ่มหมุนสูง ความเร็วคงที่ มีขนาด 0.37-7.5 กิโลวัตต์ (10 แรงม้า) ใช้กับงาน ปั๊มคอมเพลสเซอร์ ปั๊มลม ปั๊มน้าขนาดใหญ่

4. ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor)

เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กมีขนาดกาลังไฟฟ้าตั้งแต่ 1/200 แรงม้าถึง 1/30 แรงม้า นาไปใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง และใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส มอเตอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่โดดเด่น คือให้แรงบิดเริ่มหมุนสูง นาไปปรับความเร็วได้ ทั้งปรับความเร็วได้ง่ายทั้งวงจรลดแรงดันและวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ นิยมนาไปใช้เป็นตัวขับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องบดและผสมอาหาร มีดโกนหนวดไฟฟ้า เครื่องนวดไฟฟ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า สว่านไฟฟ้า เป็นต้น

5. เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ (Shaded Pole Motor)


เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่สุดมีแรงบิดเริ่มหมุนต่ามากนาไปใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ๆ เช่น ไดร์เป่าผม พัดลมขนาดเล็ก


มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส (Three Phase Motor)
1. สคิวเรลเคจโรเตอร์มอเตอร์ (Squirrel Cage Rotor Motor)


อินดักชั่นมอเตอร์สามเฟส แบบสคิวเรลเคจโรเตอร์เป็นโรเตอร์ที่ให้กาลังแรงม้าต่าเมื่อเทียบกับมอเตอร์แบบอื่นๆ แต่จะมีข้อดีคือจะมีความเร็วรอบการทางานคงที่ในโหลดที่มีขนาดต่างๆ กัน และการบารุงรักษามอเตอร์แบบนี้ไม่ยุ่งยาก จึงทาให้อินดักชั่นมอเตอร์สามเฟสแบบสคิวเรลเคจโรเตอร์ เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย

2. วาวด์โรเตอร์มอเตอร์ (Wound Rotor)


มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ (Wound-rotor) หรือแบบ Slip-ring จะมีแกนหมุนพันขดลวดที่มีตัวนาไฟฟ้านาไปสู่ Slip Rings เพื่อสอดแทรกตัวความต้านทานไว้เพิ่มแรงบิดในขณะสตาร์ทและลดกระแสในการสตาร์ทและยังวางใจได้ต่อการลดความเร็วลง 50% ภายใต้แรงบิดขณะรับภาระเต็มที่ มอเตอร์แบบนี้ เหมาะกับอุปกรณ์ขนถ่ายทุกชนิดที่ต้องควบคุมแรงบิดในขณะสตาร์ท
มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ อาจจะใช้เป็นมอเตอร์ความเร็วคงที่ หรือเป็นมอเตอร์ปรับความเร็วได้ทั้ง 2 แบบ มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ สามารถควบคุมแรงบิดในขณะช่วงเวลาการสตาร์ทได้โดยการเพิ่มความต้านทานภายนอก เข้าไปในขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ของมอเตอร์ ผ่านทาง Slip Rings ทาให้สามารถกาหนดโปรแกรมแรงบิด ระหว่างการสตาร์ท ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ที่ขับอุปกรณ์ขนถ่ายแต่ละแบบการขับประเภทนี้ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในสายพานลาเลียงขนาดใหญ่ ๆ

mr.coolclub ขอขอบคุณบทความดีๆ ได้ความรู้มากมาย จาก www.lamptech.ac.th



สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 089 159 4204 
อีเมลล์. otaengineer777234@gmail.com
เวปไซด์.www.mrcoolclub.blogspot.com

ทำไมแอร์ไม่เย็น

อาการแอร์ไม่เย็นนี้แม้ว่าเราจะไม่ใช้ช่างก็สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้เองว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีการแก้ไขอย่างไร เรามาเริ่มวิเคราะห์กันเลย ขั้นตอนแรกให้เปิดแอร์ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาทีแล้วสังเกตุที่ตัวคอร์ยร้อน( ตัวที่อยู่นอกบ้าน) ว่าทำงานหรือไม่ บางทีเห็นพัดลมคอร์ยร้อนทำงานอย่าเพิ่งสรุปว่าคอร์ยร้อนทำงานน่ะครับ บางทีตัวคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานพร้อมกับพัดลมก็ได้ ฉะนั้นสังเกตุเพิ่มเติมนิดหน่อยคือการทำงานของคอร์ยร้อนจะสั้นมากนิดหนึ่งถ้าคอมเพรสเซอร์ทำงาน แต่ถ้าให้เเน่ใจต้องใช้คลิปแอมร์จับกระแสไฟดูน่ะครับ ถ้าคอร์ยร้อนไม่ทำงานให้ท่านกลับมาดูที่รีโมทของท่านว่าตั้งถูกต้องหรือไม่ ถ้าท่านแน่ใจว่ารีโมทตั้งถูกต้องแล้ว คอร์ยร้อนจะต้องทำงานภายใน3-5 นาทีหลังจากคอร์ยร้อนทำงานได้ 10- 15 นาที ถ้ายังไม่มีลมเย็นๆออกจากคอร์ยเย็นก็แสดงว่าไม่มีสารความเย็นอยู่ในระบบหรือแอร์รั่วนั่นเอง หลังจากนี้ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างแล้วครับเพราะมีหลายขั้นตอนที่จะต้องทำต่อไป ไม่ว่าจะเป็นตรวจสอบรอยรั่วและทำการแก้ไข ดูดความชื้นออกจากระบบแล้วเติมน้ำยาเข้าสู่ระบบต่อไปเพียงเท่านี้แอร์ก็จะกลับมาเย็นเหมือนเดิมแล้วล่ะครับ




สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 096-9242915 
อีเมลล์. ldk.cservice@gmail.com
เวปไซด์.www.mrcoolclub.blogspot.com

การเลือกตำแหน่งและการติดตั้งแอร์



การเลือสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศดีขึ้นและลดปัญหาเรื่องเสียงและการสั่นสะเทือน
  • การเลือกตำแหน่งการติดตั้ง "คอร์ยเย็น" จะต้องเลือกมุมที่ให้ลมเย็นของแอร์กระจายได้ทั่วห้องและต้องไม่มีสิ่งกีดขวางกระแสลมเย็น และเลือกติดตั้งบริเวณผนังที่มีความเข็งแรง ไม่ลาดเอียง
  • การติดตั้ง "คอร์ยร้อน" จะต้องติดตั้งในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และ จุดที่จะติดตั้งต้องสามารถรองรับน้ำหนักของคอร์ยร้อนได้อย่างดี ได้ระดับที่ไม่ลาดเอียง และที่สำคัญไม่ควรที่จะให้ถูกฝนถูกแดดเพราะจำทำให้อุปกรณ์เสือมคุณภาพเร็วกว่ากำหนด
  • ระยะและความยาวของท่อน้ำยาโดยปกติแล้วท่อน้ำยาควรมีความยาวไม่เกิน 4-5 เมตร เพราะถ้ายาวมากกว่านี้จะทำให้ระบบทำงานหนักและสูญเสียประสิทธิภาพการทำความเย็น

เครื่องมือช่างแอร์


* คลิปแอม ( Clip Amp) เป็น เครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้าแบบหนึ่งที่มีวิธีใช้สะดวกสะบายแค่นำไปคล้องกับสาย ไฟเส้นใดเส้นหนึ่งจะเป็นสาย L หรือ N ก็ได้ มันก็จะบอกค่ากระแสไฟฟ้าที่อุปกรณ์นั้นๆใช้อยู่ คลิปแอม ไม่เพียงแต่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าอย่างเดี่ยวแต่ยังสามารถใช้วัดแรงดันไฟฟ้าทั้ง กระแสตรงและกระแสสลับ แล้วก็ยังสามารถใช้วัดค่าความด้านทานได้อีกด้วย

*เกจวัดน้ำยา สามารถนำมาให้งานได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นทำสุญญากาศ ( Vacump),เติมน้ำยาแอร์,ปล่อยน้ำยาทิ้ง, และใช้เพื่อดุระดับน้ำยาทั้งแรงดันสูงและต่ำ ดังน้ำการใช้เกจวัดน้ำยาต้องใช้ให้ถูกด้าน


* อุปกรณ์ดัดท่อ ( Bender) มีอยู่หลายขนาด และมีเพื่อใช้ดัดท่อให้ได้รูปร่างหรือองศาตามที่เราต้องการได้อย่างแม่นยำใน กรณีที่เราไม่ใช้ Bender เราสามารถใช้ สปริงดัดท่อ แทนได้

* คัตเตอร์ (Cutter) เป็นมีดใช้สำหรับตัดท่อทองแดงโดยมันจะไม่ทำให้ท่อเสียรูปทรง ซึ่งมีอยู่หลายขนาดให้เลือกใช้ได้ตามลักษณะงาน

* รีเมอร์ (Reamer) หลังจากที่เราตัดท่อด้วย ก่อนที่จะบานท่อหรือขยายท่อเราจะต้องทำการลบคมก่อนเพื่อให้งานออกมาสวยงาม

* ชุดบานท่อและขยายท่อ จะต้องใช้ร่วมกับตัวจับท่อทองแดง ซึ่งช่างจะต้องเลือกขนาดให้เหมาะกับขนาดท่อทองแดง
* สว่านโรตารี่และดอกสว่าน เป็นอุปกรณ์สำหรับเจาะรูให้ได้ขนาดทรงกระบอก เพื่อใช้สอดท่อน้ำยาในการติดตั้งแอร์


วงจรไฟฟ้าแบบต่างๆของแอร์


ท่านผู้อ่านคงทราบดีอยู่เเล้วว่าแอร์บ้านนั้น มีหลายขนาดหรือหลายบีทียู เพราะฉะนั้น วงจรไฟฟ้าก็จะมีหลายแบบ แต่ถ้ามองโดยรวมแล้ววงจรไฟฟ้าเหมือนกันทุกอย่างแตกต่างเเค่นิดเดียวคือ วงจรที่จะสตาร์ทคอมเพรสเซอร์เท่านั้น เพราะอะไรน่ะหรือ ก็เพราะว่าขนาดของคอมเพรสเซอร์ไม่เท่ากันยังไงล่ะครับ คอมฯตัวเล็กก็จะมี ตัวเก็บประจุตัวเดียว ส่วนคอมฯที่ตัวใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยก็จะมีตัวเก็บประจุ 2 ตัว และ คอมฯที่ค่อนข้างใหญ่ก็จะมีตัวเก็บประจุ 2 ตัว และ มีรีเลย์เพิ่มขึ้นมาอีกตัวหนึ่งแบบตัวอย่างเลยครับ การต่อคอมฯเพรสเซอร์แบบต่างๆเดี๋ยวผมจะเขียนไว้ในหัวข้อหลักครับ คราวนี้มาดูการทำงานโดยรวมกันเลยครับ
เมื่อเราต่อเบรกเกอร์ กระเเสไฟฟ้าจะวิ่งมารอที่ swith control และ magnetic contactor หลังจากนั้น เมื่อเราเปิดแอร์ ไฟฟ้าก็จะวิ่งไปที่ พัดลมคอร์ยเย็น พัดลมก็ทำงานทันที ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าจะวิ่งผ่าน thermostat ,timer relay,pressure sw,ไปยัง magnetic contactor ทำให้ magnetic contactor ต่อวงจร ให้ คอมเพรสเซอร์และ พัดลมคอร์ยร้อนทำงาน
-เมื่อความเย็นได้ตามที่ตั้งไว้ thermostat จะตัด คอมฯและพัดลมคอร์ยร้อนทันที แต่ไม่ตัด พัดลมคอร์ยเย็นครับ
-ในกรณีที่ทำการปิดแอร์ แล้วเปิดใหม่ทันที ชุดคอร์ยเย็นจะทำงานปกติ แต่ชุดคอร์ยร้อนจะยังไม่ทำงาน เพราะ timer relay หน่วงเวลาไปอีก 3-5 นาที เพราะระบบถูกออกแบบให้สารความเย็น balance ระหว่างเเรงดันสูงกับแรงดันต่ำเสียก่อน
-ในกรณีในระบบไม่มีสารความเย็นหรือรั่ว หรือ เเรงดันสูงเกินไป(ระบบตัน) pressure sw จะตัดการทำงานทันทีเช่นกันครับ
ผมหวังว่าข้อมูลนี้คงมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจน่ะครับ ถ้ามีคำ ติ ชม หรือ มีข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่งมาได้ครับ ยินดีรับทุกข้อมูลครับ



สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 089 159 4204 
อีเมลล์. otaengineer777234@gmail.com
เวปไซด์.www.mrcoolclub.blogspot.com

วงจรการทำงานของแอร์บ้าน


วงจรการทำงานของแอร์ เริ่มต้นจากเมื่อเรากดปุ่ม ON บนรีโมทคอลโทรล เครื่องจะหน่วงเวลาประมาณ 3นาทีเมื่อ คอมเพรสเซอร์ เริ่มทำงานมันจะทำการอัดน้ำยาให้มีลักษณะเป็นก๊าซแรงดันสูงอุณหภูมิสูงส่งไปยัง คอนเดนเซอร์ เพื่อทำการระบายความร้อนของน้ำยาออก โดยมีพัดลมเป็นตัวระบายความร้อน และน้ำยาก็จะกลายเป็นของเหลวแรงดันสูงอุณหภูมิต่ำ แล้วส่งไปยัง Filter-Dryer เพื่อดูดความชื้นและสิ่งสกปรกที่ปนกับน้ำยาหลังจากนั้น ก็จะส่งต่อไปยัง Cap Tube เมื่อออกจาก Cap Tube น้ำยาก็จะมีสถานะเป็นก๊าซแรงดันต่ำอุณหภูมิต่ำ ส่งไปยัง คอร์ยเย็น เพื่อ ดูดซับความร้อนในห้องออกไปกับน้ำยา หลังจาำกนั้นก๊าซก็จะถูกดูดเข้าคอมเพรสเซอร์และหมุ่นเป็นเวียนเป็นเช่นนี้ไป เรื่อยๆ ซึ่งเราจะสังเกตุได้่ว่า Cap Tube นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่แบ่งระหว่างแรงดันสูงและแรงดันต่ำของระบบการทำงานของ แอร์

ส่วนประกอบของแอร์



* คอมเพรสเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ สำคัญชิ้นหนึั่งในระบบทำความเย็นทำหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาให้เกิดการหมุ่น เวียนภายในระบบ โดยจะดูดน้ำยาที่เป็นก๊าซแรงดันต่ำอุณหภูมิต่ำกลับจากคอร์ยเย็นแล้วอัดน้ำยา ให้มีแรงดันสูงอุณภูมิสูงเข้าระบบหมุนเวียนเช่นนี้ตลอดเวลา ที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน ซึ่งคอมเพรสเซอร์มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ชนิดที่นิยมใช้กับแอร์บ้านจะเป็นแบบลูกสูบ และโรตารี่

1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ ซึ่งสามารถแบบแยกย่อยได้อีกหลายแบบ ได้แก่
ลูกสูบแบบเปิด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับรถยนต์มากกว่า ลักษณะภายในนั้นจะมีเฉพาะชุดลูกสุบอ ย่างเดี่ยวต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภายนอก (เครื่องยนต์)
ลูกสูบแบบกึ่งเปิดกึ่งปิด แบบนี้มักจะใช้กับเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะภายในนั้นจะเป็นชุดลูกสูบ และชุดขับเคลื่อน (มอเตอร์) อยู่ในตัวเดี่ยวกัน
ลูกสูบแบบปิดสนิท ลักษณะ ภายในจะเป็นชุดลูกสูบและชุดขับเคลื่อนอยู่ในตัวเดี่ยวกัน มักจะใช้กับแอร์ขนาดเล็กจนถึงแอร์ขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น ตู้แช่ แอร์บ้าน
2. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ นิยม ใช้กับแอร์บ้านในปัจจุบัน ลักษณะภายในนั้นจะเป็นชุดมอเตอร์ + ชุดโรตารี่ อยู่ในตัวเดี่ยวกัน คอมเพรสเซอร์แบบนี้จะมีการเสียดสีกันน้อย การสันสะเทื่อนและเสียงจากการทำงานมีน้อยมาก และที่สำคัญกินไฟน้อยกว่าแบบลูกสูบ

* คอนเดนเซอร์ มีลักษณะเป็นท่อ 1 เส้น วิ่งขดไปมาโดยมีครีบวางตัวเป็นซี่ๆเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจากท่อ น้ำยา คอนเดนเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่รับน้ำยาจากคอมเพรสเซอร์ที่มีสถานะเป็นก๊าซแรงดัน สูงอุณหภูมิสูงให้กลายเป็นของเหลวแรงดันสูงอุณหภูมิต่ำ เพื่อส่งไปยังอุปกรณ์ชิ้นต่อไป
* ฟิวเตอร์ไดเออร์ ( Filter-Dryer) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญชิ้นหนึ่งทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ ปะปนมากับน้ำยาแอร์ ถ้าไม่มีอุปกรณ์ชิ้นนี้ จะมีผลดังนี้คือ กรณีแรก ถ้าน้ำยาสกปรกที่อาจจะเกิดจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่เก่า หรือติดตั้งไม่ดี ก็จะทำให้เกิดการอุดตันในระบบได้ ส่วนกรณีทีสอง ถ้าความชื่นมีในระบบก็จะทำให้เกิดการอุดตันที่เกิดจากน้ำกลายเป็นน้ำแข็งที่ เราเรียกว่าตัดความชื่นนั้นเอง

* อุำปกรณ์ลดแรงดัน ( Cap Tube) ตัวลดแีรงดันแอร์นั้นมีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่ินิยมใช้กับแอร์บ้านนั้น เรียกว่า Cappillary Tube หรือ Cup Tube นั้นเอง ลักษณะของมันก็คือ เป็นเส้นทองแดงเล็กๆและมีรูเล็กๆเท่ากับรูเข็มที่เป็นทางผ่านของน้ำยาที่รับ มาจาก คอนเดนเซอร์ ที่เป็นของเหลวแรงดันสุงอุณหภูมิต่ำ น้ำยาเมื่อออกจาก Cap Tube นี้มันจะกลายเป็นก๊าซแรงดันต่ำอุณหภูมิต่ำส่งต่อเข้าไปยัง คอร์ยเย็นนั้นเอง
* Evaporator (คอร์ยเย็น) ลักษณะโครงสร้างของมันจะเหมือนกับคอร์ยร้อนแต่จะทำหน้าที่กันคนละอย่าง ซึ่งคอร์ยเย็น จะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนในห้อง โดยใช้พัดลมที่เรียกว่า Blower ดูดอากาศเป่าผ่านแผงคอร์ยเย็น ทำให้ลมที่ออกมาจากคอร์ยเย็นมีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่ามันเย็นสบายนั้นเอง คอร์ยเย็นยังมีแผ่นกรองอากาศ และบางรุ่นอาจมีระบบฆ่าเชื้อโรคอีกด้วย
* สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ มีส่วนผสมระหว่าง ฟลูออรีน, คลอรีน และมีเทน ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกันไปตามประเภทของน้ำยานั้นๆ เช่น R-11,R-12, R-22,R-134A, R-407C น้ำยาเหล่านี้มีคุณสมบัติเฉพาะตัวห้ามนำเอามาผสมกันเด็ดขาด ในปัจจุบันน้ำยา R-11, R-12, R-22 ได้ถูกลดจำนวนการผลิตลงและจะยกเลิกในเร็วๆ นี้ เืนื่องจากมันมีส่วนทำลายชั้นบรรยากาศ หรือ โอโซนนั้นเอง โดย R-12 จะถูกแทนด้วยน้ำยา R-134A และ R-22 ถูกแทนด้วย R-407C เป็นต้น
* น้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ มี หน้าที่หล่อลื่นและระบายความร้อนชิ้นส่วนภายในคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นนี้ใช้กับระบบทำความเย็น มันจึงต้องไม่เป็นไขในอุณหภูมิต่ำๆ และไม่ทำปฎิกริยากับโลหะในระบบทำความเย็น

 mrcoolclub ให้บริการถึงที่ ในเขตพื้นที่ ดังต่อไปนี้  รังสิต นครนายก ตลาดไท หนองเสือ คลองหลวง ลำลูกกา สุขาภิบาล5 เส้นอ่อนนุช ลาดกระบัง หลวงแพ่ง สนามบินสุวรรณภูมิ ร่มเกล้า คุ้มเกล้า เส้นรามคำแหง ลาดพร้าว สุวินทวงศ์ เสรีไทย มีนบุรี รามอินทรา คู้บอน คันนายาว คลองสามวา ถนนเพชรบุรี พัฒนาการ ประเวศ เฉลิมพระเกียรติ อุดมสุข บางนา เทพารักษ์ บางปู สุขุมวิทสายเก่า และบริเวณใกล้เคียง
ยินดีให้บริการทั้ง บุคคลทั่วไป บริษัท ห้างร้าน

ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าในบ้าน

ไฟฟ้ามีอยู่ 2 ชนิด คือ ไฟฟ้ากระเเสสลับ เเละ ไฟฟ้ากระเเสตรง
  • อันที่จริงไฟฟ้ากระเเสสลับนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะไม่ว่าจะเป็นเรื่องเฟส,ความถี่,เเรงดัน,เเละจำนวนสายไฟ เเต่ในที่นี้ผมขอเเนะนำให้กับผู้ที่สนใจหรือช่างเเอร์บ้านให้สามารถทำการติดตั้งเเอร์บ้านได้ครับ ลองอ่านเเล้วก็ดู กล่องโหลดเซ็นเตอร์ที่บ้านไปด้วยก็ได้จะง่ายต่อการเข้าใจครับ มาเริ่มกันเลยครับ ไฟฟ้ากระเเสสลับที่วิ่งตามถนนหนทางหลักๆหรือเสาไฟไหญ่ๆที่วิ่งไปตามท้องไร่ท้องนานั้นเเหละ มันมีเเรงดันสูงเป็นหมื่นๆโวลท์ จำนวนสายก็เยอะกว่านั้นเป็นการบอกว่ามีเฟสเยอะกว่าครับ เเละมีความถี่เยอะกว่าอีกด้วย ก่อนที่มันจะต่อเข้าอาคารบ้านเรื่อนนั้นมันจะถูกลด เเรงดัน ความถี่ ลงมาด้วยหม้อเเปลงไฟฟ้าครับ เมื่อต่อเข้าไปในบ้านมันจะมีเเรงดันไฟฟ้า 220 โวท์ลเเละความถี่เท่ากับ 50 เฮิร์ท เเล้วจำนวนสายไฟมีกี่เส้นล่ะครับ อันนี้ท่านผู้อ่านลองเปิดกล่องโหลดเซ็นเตอร์เลยครับ(เปิดเเล้วมองอย่างเดียวน่ะครับอย่าเพิ่งเเตะต้องอุปกรณ์ข้างใน เดียวจะได้รับอันตราย)เเล้วเราก็จะเห็นสายไฟอยู่สามสายครับคือ สายสีดำสองเส้น เเละสายสีเขียว หนึ่งเส้น สายทั้งสามเส้นนั้นคือสาย L, N, G มันมีความสำคัญยังไงเรามาดูกันครับ สาย Lคือสายที่มีไฟฟ้าวิ่งตลอดเวลา เวลาทำงานกับเส้นนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะจะชอร์ทหรือไม่ขึ้นอยู่กับเส้นนี้ เเล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันมีไฟฟ้าวิ่งอยู่ ไม่ยากครับก็นำไขควงเช็คไฟมาแตะดูทั้งสามเส้น เส้นที่ทำให้ไขควงเช็คไฟมีไฟสว่างขึ้นนั้นคือสาย L ครับ ส่วนสาย N คือสายที่ทำให้วงจรไฟฟ้าครบวงจร ส่วนสาย G คือสายดินนั้นเอง สีของสายจะมีสีเขียวหรือเขียวคาดเหลืองครับ อันที่จริงเเล้วมีเเค่สาย L, N วงจรไฟฟ้าก็ทำงานได้โดยที่ไม่ต้องมีสายดินเเต่เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตเเละทรัพย์สินต้องต่อให้ครบทั้งสามเส้นครับ
  • ไฟฟ้ากระเเสตรงนั้น มี 2 ขั้วคือ ขั้วบวกเเละขั้วลบ มักจะมีใช้ในรถยนต์เเละภายในอุปกรณ์อิเลคทรอนิค