ท่านผู้อ่านคงทราบดีอยู่เเล้วว่าแอร์บ้านนั้น มีหลายขนาดหรือหลายบีทียู เพราะฉะนั้น วงจรไฟฟ้าก็จะมีหลายแบบ แต่ถ้ามองโดยรวมแล้ววงจรไฟฟ้าเหมือนกันทุกอย่างแตกต่างเเค่นิดเดียวคือ วงจรที่จะสตาร์ทคอมเพรสเซอร์เท่านั้น เพราะอะไรน่ะหรือ ก็เพราะว่าขนาดของคอมเพรสเซอร์ไม่เท่ากันยังไงล่ะครับ คอมฯตัวเล็กก็จะมี ตัวเก็บประจุตัวเดียว ส่วนคอมฯที่ตัวใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยก็จะมีตัวเก็บประจุ 2 ตัว และ คอมฯที่ค่อนข้างใหญ่ก็จะมีตัวเก็บประจุ 2 ตัว และ มีรีเลย์เพิ่มขึ้นมาอีกตัวหนึ่งแบบตัวอย่างเลยครับ การต่อคอมฯเพรสเซอร์แบบต่างๆเดี๋ยวผมจะเขียนไว้ในหัวข้อหลักครับ คราวนี้มาดูการทำงานโดยรวมกันเลยครับ
เมื่อเราต่อเบรกเกอร์ กระเเสไฟฟ้าจะวิ่งมารอที่ swith control และ magnetic contactor หลังจากนั้น เมื่อเราเปิดแอร์ ไฟฟ้าก็จะวิ่งไปที่ พัดลมคอร์ยเย็น พัดลมก็ทำงานทันที ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าจะวิ่งผ่าน thermostat ,timer relay,pressure sw,ไปยัง magnetic contactor ทำให้ magnetic contactor ต่อวงจร ให้ คอมเพรสเซอร์และ พัดลมคอร์ยร้อนทำงาน
-เมื่อความเย็นได้ตามที่ตั้งไว้ thermostat จะตัด คอมฯและพัดลมคอร์ยร้อนทันที แต่ไม่ตัด พัดลมคอร์ยเย็นครับเมื่อเราต่อเบรกเกอร์ กระเเสไฟฟ้าจะวิ่งมารอที่ swith control และ magnetic contactor หลังจากนั้น เมื่อเราเปิดแอร์ ไฟฟ้าก็จะวิ่งไปที่ พัดลมคอร์ยเย็น พัดลมก็ทำงานทันที ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าจะวิ่งผ่าน thermostat ,timer relay,pressure sw,ไปยัง magnetic contactor ทำให้ magnetic contactor ต่อวงจร ให้ คอมเพรสเซอร์และ พัดลมคอร์ยร้อนทำงาน
-ในกรณีที่ทำการปิดแอร์ แล้วเปิดใหม่ทันที ชุดคอร์ยเย็นจะทำงานปกติ แต่ชุดคอร์ยร้อนจะยังไม่ทำงาน เพราะ timer relay หน่วงเวลาไปอีก 3-5 นาที เพราะระบบถูกออกแบบให้สารความเย็น balance ระหว่างเเรงดันสูงกับแรงดันต่ำเสียก่อน
-ในกรณีในระบบไม่มีสารความเย็นหรือรั่ว หรือ เเรงดันสูงเกินไป(ระบบตัน) pressure sw จะตัดการทำงานทันทีเช่นกันครับ
ผมหวังว่าข้อมูลนี้คงมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจน่ะครับ ถ้ามีคำ ติ ชม หรือ มีข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่งมาได้ครับ ยินดีรับทุกข้อมูลครับ
สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 089 159 4204
อีเมลล์. otaengineer777234@gmail.com
เวปไซด์.www.mrcoolclub.blogspot.com